การเป็นสมาชิกสหกรณ์
สหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงแรงงาน จำกัด
สหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงแรงงาน จำกัด ได้รับจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 เลขที่ทะเบียนสหกรณ์ 99/11313 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2512 ในชื่อ “สหกรณ์ออมทรัพย์กรมแรงงาน จำกัด” ในสมัยที่เป็น “กรมแรงงาน” สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีสมาชิก จำนวน 201 คน มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก จำนวน 23,490 บาท ประธานกรรมการคนแรกผู้ก่อตั้ง คือ นายเทียน อัชกุล อธิบดีกรมแรงงาน สหกรณ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อมาหลายครั้งตามการแยกออกมาเป็นกระทรวงแรงงานจนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงแรงงาน จำกัด”
สํานักงานตั้งอยู่ที่ อาคารกระทรวงแรงงาน ชั้น 1 ในห้องอาหาร ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
ได้รับรางวัล “สหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่น กรุงเทพมหานคร ระดับภาค ประจําปี 2547”
เป็นองค์กรหลักในการให้บริการสมาชิก
ในการบริหารจัดการด้านการเงินด้วยความรวดเร็ว
โปร่งใส เสมอภาค เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
พันธกิจที่ 1 ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสหกรณ์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
พันธกิจที่ 2 ส่งเสริมการออมโดยยึดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจที่ 3 พัฒนาบุคลากร และระบบสารสนเทศให้รวดเร็ว ทันสมัย
พันธกิจที่ 4 ปรับปรุงการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด โปร่งใส และเป็นธรรม
“คุณค่าของสหกรณ์” (Cooperative Values)
สหกรณ์อยู่บนพื้นฐานแห่งคุณค่าของการช่วยตนเอง รับผิดชอบต่อตนเอง ความเป็นประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความเป็นเอกภาพ สมาชิกสหกรณ์เชื่อมั่นในคุณค่าทางจริยธรรมแห่งความสุจริต ความเปิดเผย ความรับผิดชอบต่อสังคม และความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น โดยสืบทอดประเพณีปฏิบัติของผู้ริเริ่มการสหกรณ์
“หลักการสหกรณ์” (Cooperative Principles)
1. การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง
2. การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
3. การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก
4. การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
5. การศึกษา การฝึกอบรม และสารสนเทศ
6. การร่วมมือระหว่างสหกรณ์
7. ความเอื้ออาทรต่อชุมชน
ใครบ้างสมัครสมาชิกสหกรณ์ได้
(สมาชิกสามัญ) ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ เจ้าหน้าที่สหกรณ์
(สมาชิกสมทบ) พนักงานราชการ พนักงานประกันสงคม
ซึ่งสังกัดกระทรวงแรงงาน และการโอนสมาชิกภาพระหว่างสหกรณ์
สมัครได้อย่างไร
1. กรอกใบสมัครตามแบบที่สหกรณ์กำหนด และมีผู้บังคับบัญชาของผู้สมัครเป็นผู้รับรอง แนบหลักฐาน ตามที่แจ้งในแบบฟอร์มใบสมัคร เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือของรัฐ เป็นต้น
2. จัดทำหนังสือแสดงเจตนาระบุผู้รับประโยชน์ แจ้งบ้านเลขที่อยู่อาศัยทำประกันอัคคีภัย
3. กรอกแบบฟอร์มการทำประกันชีวิตกลุ่ม พร้อมแนบหลักฐาน สำเนาบัตรประชาชนหรือของรัฐ
4. ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า 50 บาท ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าหุ้นรายเดือน (สหกรณ์จะหัก ณ ที่จ่าย จากเงินได้รายเดือนของผู้สมัคร) กรณีลาออกแล้วจะสมัครใหม่ต้องผ่านพ้นไปแล้ว 6 เดือน นับจากวันที่ลาออก
5. กรณีเป็นพนักงานประกันสังคม หรือพนักงานราชการ ต้องแนบสัญญาจ้างหรือคำสั่งจ้าง เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ เพราะถ้าเป็นลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถสมัครได้
6. ยื่นต่อสหกรณ์ฯ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการฯ มีมติอนุมัติรับเข้าเป็นสมาชิกแล้ว สหกรณ์จะแจ้งการเรียกเก็บเงินค่าหุ้น หรือเงินอื่น หักจาก เงินเดือน ณ ที่จ่ายจากกรมบัญชีกลาง
การโอนสมาชิกภาพจากสหกรณ์อื่น
เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นอยู่แล้ว และโอนย้ายเข้ามาเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจํา กระทรวงแรงงาน
การโอนมาเป็นสมาชิกสหกรณ์ ยื่นใบสมัครสมาชิกใหม่ พร้อมบันทึกแจ้งความประสงค์ขอโอนสมาชิกภาพ จากสหกรณ์ออมทรัพย์เดิม เมื่อคณะกรรมการฯ อนุมัติรับเป็นสมาชิกแล้ว สหกรณ์จะติดต่อกับสหกรณ์เดิม เพื่อขอรับโอนเงินหุ้น หรือชำระเงินกู้(ถ้ามี) กรณีมีหนี้ค้างกับสหกรณ์ฯ เดิม ต้องยื่นหนังสือสัญญากู้เงินให้พิจารณาด้วย โดยสมาชิกที่โอนย้ายจะได้รับสมาชิกภาพเท่ากับที่มีอยู่กับสหกรณ์ฯ เดิม
การถือหุ้นสหกรณ์
1. สมาชิกถือหุ้นรายเดือนตั้งแต่เดือนแรกที่เข้าเป็นสมาชิกขั้นต่ำไม่น้อยกว่า ดังนี้
เงินได้รายเดือน (บาท)
|
อัตราการถือหุ้น (บาท)
|
8,000 ไม่ถึง 10,000
|
500
|
10,000 ไม่ถึง 12,000
|
600
|
12,000 ไม่ถึง 14,000
|
720
|
14,000 ไม่ถึง 16,000
|
840
|
16,000 ไม่ถึง 18,000
|
960
|
18,000 ไม่ถึง 20,000
|
1,080
|
20,000 ไม่ถึง 22,000
|
1,200
|
22,000 ไม่ถึง 24,000
|
1,320
|
24,000 ไม่ถึง 26,000
|
1,440
|
26,000 ไม่ถึง 28,000
|
1,560
|
28,000 ไม่ถึง 30,000
|
1,680
|
ตั้งแต่ 30,000 ขึ้นไป
|
1,800
|
2. สมาชิกมีสิทธิถือหุ้นรายเดือนมากกว่าที่กำหนดในข้อ 1 แต่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินเดือน และไม่เกิน 5,000 บาท
3. สมาชิกที่ส่งเงินค่าหุ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 120 เดือน (10 ปี) หรือมีเงินค่าหุ้นอยู่กับสหกรณ์แล้วไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และไม่มีหนี้สินกับสหกรณ์ สามารถงดส่งค่าหุ้นรายเดือนได้
4. สมาชิกจะถอนคืนหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ และจะขายหรือโอนหุ้นที่ตนถือให้ผู้อื่นไม่ได้
1. สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินการเพื่อบริหารงานสหกรณ์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ คณะกรรมการดําเนินการ มีวาระ 2 ปี เมื่อเป็นติดต่อกันครบ 2 วาระหรือ 4 ปี ต้องพัก 1 ปี
2. สิทธิการใช้อำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ สมาชิกใช้อํานาจหน้าที่พิจารณาการดําเนินกิจการทั้งปวงของสหกรณ์ ได้แก่ อนุมัติงบดุล จัดสรรกําไรสุทธิประจําปี เลือกตั้งกรรมการดําเนินการ อนุมัติแผนงานและงบประมาณสหกรณ์ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับสหกรณ์ การเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการ และผู้สอบบัญชี เสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ ต่อที่ประชุมใหญ่
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นสมาชิก |
1. รับเงินปันผลตามหุ้น
1.1 ได้รับเงินปันผลตามหุ้นที่มีอยู่ในสหกรณ์โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
1.2 อัตราเงินปันผลเป็นไปตามมติที่ประชุมใหญ่
1.3 หุ้นที่ได้ชําระต่อสหกรณ์ภายในวันที่ 5 ของเดือนจะคํานวณเงินปันผลให้เต็มเดือน
หากชําระหลังวันที่ 5 ของเดือนจะคํานวณเงินปันผลให้ในเดือนถัดไป
1.4 สมาชิกที่ลาออกจากสหกรณ์ และขอให้จ่ายเงินค่าหุ้นคืนหลังวันที่ 30 กันยายน จะมีสิทธิ
ได้รับเงินปันผลในปีนั้น
2. สิทธิรับเงินเฉลี่ยคืนแก่สมาชิกที่กู้เงิน
2.1 สมาชิกผู้กู้จะได้รับเงินเฉลี่ยคืนตามสัดส่วนจํานวนดอกเบี้ยที่สมาชิกผู้กู้จ่ายให้สหกรณ์
2.2 อัตราเงินเฉลี่ยคืนเป็นไปตามมติที่ประชุมใหญ่
2.3 ข้อบังคับข้อ 28(2) ".....สมาชิกที่ผิดนัดการส่งเงินงวดชำระเงินงวดชำระหนี้ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ยในปีใด มิให้ได้รับเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีนั้น"
3. ฝากเงินดอกเบี้ยสูง ไม่ต้องเสียภาษี
3.1 ฝากออมทรัพย์ เปิดบัญชีขั้นตํ่า 100 บาท อัตราดอกเบี้ยตามประกาศของสหกรณ์ฯ จ่ายดอกเบี้ยทบต้น วันที่ 30 มีนาคม และ 30 กันยายน ฝาก - ถอน ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ถ้าถอนเกินกว่า 50,000 บาท ต้องแจ้งก่อน 1 วันทำการ
3.2 ฝากออมทรัพย์พิเศษ เปิดบัญชีและฝากครั้งละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท ถอนเงินได้เดือนละ 1 ครั้ง หากถอนเกิน 1 ครั้ง คิดค่าธรรมเนียม 1% ของยอดเงินที่ถอน และต้องไม่น้อยกว่า 300 บาท ปัจจุบันจ่ายดอกเบี้ย 3 เดือนต่อครั้ง ในวันที่ 31 ธันวาคม, 31 มีนาคม, 30 มิถุนายน, และ 30 กันยายน อัตราดอกเบี้ยตามประกาศสหกรณ์ กำหนดฝากได้เดือนละไม่เกิน 50,000 บาท (ตามประกาศสหกรณ์) ถอนเงินเกินกว่า 50,000 แจ้งล่วงหน้าก่อน 1 วันทำการ
การฝาก – ถอนเงินสหกรณ์
1. ฝากระหว่างเวลา 08.30 – 15.30 น. ถอนระหว่างเวลา 09.30 – 15.30 น.
2. ถอนไม่เกิน 50,000 บาท รับเงินสด ถอนเกินกว่า 50,000 บาท โปรดแจ้งก่อน 1 วันทำการ
3. โปรดนําบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรของรัฐ สมุดคู่ฝาก ติดต่อด้วยทุกครั้ง
รับบริการกู้เงิน มี 2 ประเภท
1. เงินกู้ฉุกเฉิน หรือ เงินกู้ฉุกเฉินกระแสรายวัน (เลือกกู้ได้ 1 ประเภท)
- อัตราดอกเบี้ยตามประกาศสหกรณ์
- กู้ได้เมื่อเป็นสมาชิกและส่งเงินค่าหุ้นแล้วครบ 3 เดือน และ 6 เดือนที่ผ่านมาต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้กับสหกรณ์
1.1 เงินกู้ฉุกเฉิน เงื่อนไข กู้ได้หนึ่งเท่าของเงินเดือน แต่ต้องไม่เกิน 90% ของเงินค่าหุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์ ผ่อน ชําระคืนได้ตั้งแต่ 1 - 10 งวด (ตามวงเงินที่กู้) ยื่นกู้ได้ทุกวันทำการ ยื่นกู้ใหม่ได้เมื่อชำระหนี้เก่าหมดแล้ว
1.2 เงินกู้ฉุกเฉินกระแสรายวัน เงื่อนไข กู้ได้ 3 เท่าของเงินเดือน ไม่เกิน 60,000 บาท และไม่เกิน 90% ของหุ้น เมื่อคำนวณแล้วมีเศษเกินพันบาทให้ปัดเศษขึ้นเป็นพันบาท ใช้บริการได้ไม่เกิน 12 เดือน
การยื่นคำขอกู้ ยื่นต่อคณะกรรมการเงินกู้ ผู้กู้จะต้องมีบัญชีเงินฝากและบัตร ATM (ชนิดธรรมดา) กับธนาคารกรุงศรีฯ เมื่อคณะกรรมการฯ อนุมัติวงเงินกู้แล้ว จะส่งข้อมูลวงเงินกู้ให้กับสมาชิกไปยังธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพื่อสมาชิกสามารถกดเงินไปใช้ได้ในวงเงินไม่เกินที่อนุมัติ
การกู้เงินกดเงิน ใช้บัตร ATM ธนาคารกรุงศรีฯ ทำรายการกู้เงินที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงศรีฯ หรือทำรายการผ่านโทรศัพท์ กด 1572 แล้วทำรายการกู้เงิน ระบบจะโอนเงินฝากสหกรณ์ฯ เข้าบัญชีเงินฝากของสมาชิก สมาชิกต้องเสียค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท ให้แก่ธนาคาร โดยหัก ณ ที่จ่ายเมื่อทำรายการเสร็จสิ้น
2. เงินกู้สามัญ (กู้ได้สูงสุด 65 เท่าของเงินเดือน หรือไม่เกิน 90% ของหุ้นที่มีอยู่ในสหกรณ์)
2.1 กู้เงินไม่เกิน 90% ของหุ้น เงื่อนไข ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ส่งชำระคืนได้สูงสุด 180 เดือน และต้องมีเงินเดือนพอหักส่ง อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันร้อยละ 6.00 ต่อปี หรือตามประกาศสหกรณ์ ยื่นกู้ได้ทุกวันทำการ
2.2 กู้เงินเกิน 90% ของหุ้น เงื่อนไข ต้องมีผู้ค้ำประกัน ต้องมีเงินค่าหุ้นร้อยละ 15 ของเงินที่กู้
- ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้กับสหกรณ์
- กรณีเป็นข้าราชการต้องเหลืออายุราชการ 1 ปี ลูกจ้างประจำต้องเหลืออายุราชการ 3 ปี
- เป็นสมาชิกมาแล้ว 1 ปี กู้ได้สูงสุด 300,000 บาท ถ้าเป็นสมาชิก 3 ปีขึ้นไปกู้ได้ไม่เกิน 1,600,000 บาท
การผ่อนชำระหนี้กับสหกรณ์ ผ่อนชำระไม่เกินอายุ 65 ปี และไม่เกิน 240 งวด มีเงื่อนไข ดังนี้

ผู้ค้ำประกัน
- สมาชิกคนหนึ่งมีสิทธิค้ำประกันผู้กู้ได้ไม่เกิน 6 คน และต้องเป็นสมาชิกสามัญประเภทเดียวกัน
- กู้เงินไม่เกิน 8 แสนบาท ต้องมีสมาชิกค้ำประกัน 2 คน
- กู้เงิน 8 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1.2 ล้านบาท ต้องมีสมาชิกค้ำประกัน 4 คน
ถ้าผู้ค้ำประกันมีเงินเดือน 2 หมื่นบาทขึ้นไปใช้ 3 คน ถ้าเงินเดือน 3 หมื่นบาทขึ้นไปใช้ 2 คน
- กู้เงิน 1.2 ล้านบาทขึ้นไป ต้องมีสมาชิกค้ำประกัน 6 คน
ถ้าผู้ค้ำประกันมีเงินเดือน 2 หมื่นบาทขึ้นไปใช้ 4 คน ถ้าเงินเดือน 3 หมื่นบาทขึ้นไปใช้ 3 คน
กรณีสมาชิกสมทบ เงื่อนไข ต้องมีผู้ค้ำประกัน 4 คน ต้องมีเงินค่าหุ้นร้อยละ 25 ของเงินที่กู้
- ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้กับสหกรณ์
- เป็นสมาชิกสมทบส่งค่าหุ้นมาแล้ว 1 ปี กู้ได้สูงสุด 20 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 80,000 บาท ส่งชำระคืนได้ไม่ เกิน 42 งวด ต้องมีผู้ค้ำประกัน 3 คน (หรือ สมทบ 1 + สามัญ 1)
- ถ้าเป็นสมาชิกสมทบส่งค่าหุ้นแล้ว 3 ปี กู้ได้สูงสุด 20 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่งชำระคืนได้ไม่เกิน 60 งวด ต้องมีผู้ค้ำประกัน 3 คน (หรือ สมทบ 1 + สามัญ 1)
- ถ้าเป็นสมาชิกสมทบส่งค่าหุ้นมาแล้ว 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี กู้ได้สูงสุด 20 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ส่งชำระคืนได้ไม่เกิน 90 งวด ต้องมีผู้ค้ำประกัน 4 คน (หรือ สมทบ 1 + สามัญ 1)
- ถ้าเป็นสมาชิกสมทบส่งค่าหุ้นแล้ว 10 ปีขึ้นไปกู้ได้ 20 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 400,000 บาท ส่งชำระคืนได้ไม่เกิน 120 งวด ต้องมีผู้ค้ำประกัน 4 คน (หรือ สมทบ 1 + สามัญ 1)
- กรณีที่เป็นพนักงานราชการ ส่งชำระหนี้ได้ไม่เกินสัญญาจ้างกับหน่วยงานต้นสังกัด
ผู้ค้ำประกัน สมาชิกสมทบคนหนึ่งมีสิทธิค้ำประกันได้ไม่เกินสี่คน
ผู้ค้ำประกัน 4 คน ต้องอยู่ในสังกัดเดียวกัน
การทำประกันชีวิต(คุ้มครองเงินกู้) |
สมาชิกที่กู้เงินตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป ต้องทำประกันชีวิตกลุ่ม(คุ้มครองเงินกู้) สหกรณ์ฯ จะหักเงินค่าเบี้ยประกัน ณ ที่จ่ายเงินกู้สามัญ ค่าเบี้ยประกันตามกรมธรรม์แต่ละปีต่อวงเงินกู้ 100,000 บาท ต่อปี (เงื่อนไขขึ้นอยู่กับบริษัทประกันในแต่ละปี) โดยจะคำนวณค่าเบี้ยประกันจากวันที่สมาชิกรับเงินกู้ถึงวันที่ 30 กันยายน และในปีต่อๆ ไปจะคิดจากยอดหนี้เงินกู้คงเหลือและจะหักค่าเบี้ยประกัน ณ ที่จ่ายจากเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืน กรณีที่สมาชิกเสียชีวิตจะได้รับเงินสินไหมฯ ตามวงเงินที่ทำประกันเต็มจำนวน
เอกสารประกอบการทำประกันชีวิต : สําเนาบัตรประชาชนหรือของรัฐ
ประกันชีวิตจะมีผลคุ้มครองเมื่อบริษัทประกันตอบรับการประกันชีวิตของท่านแล้ว
เอกสารของสมาชิกผู้ถึงแก่กรรม : สำเนาใบมรณบัตร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือของรัฐ สำเนาทะเบียนบ้าน ที่ประทับตราคำว่า “ตาย” หนังสือรับรองการเสียชีวิต และบันทึกประจําวันของตํารวจ (กรณีประสบอุบัติเหตุ)
เอกสารของทายาทหรือผู้รับโอนประโยชน์ : หนังสือมอบอำนาจรับเงินของทายาท(ตามแบบของสหกรณ์) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน สําเนาทะเบียนบ้าน, สําเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารพาณิชย์อื่น และเอกสารอื่นๆ เช่น ทะเบียนสมรส ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนสกุล เป็นต้น
บริษัทประกันปฏิเสธจ่ายสินไหมกรณีใดบ้าง กรณีเข้าร่วมโครงการประกันชีวิตกับสหกรณ์ครั้งแรก เมื่อผู้ทําประกันเป็นโรคร้ายแรงและเสียชีวิตภายในระยะเวลา 1 ปีแรก ที่เข้าร่วมโครงการประกันชีวิตกับสหกรณ์ ซึ่งการตรวจสอบประวัติทางการรักษาของแพทย์แล้ว พบว่า เป็นโรคร้ายแรงโดยปกปิด หรือแถลงโรคอันเป็นเท็จ
ประกันชีวิตกลุ่ม
สมาชิกสหกรณ์ต้องทำประกันชีวิตตามที่สหกรณ์ฯ จัดหาให้ตามระเบียบสหกรณ์ โดยสมาชิกกับสหกรณ์จ่ายค่าเบี้ยประกันคนละครึ่ง ได้รับวงเงินคุ้มครองชีวิต 150,000 บาท ค่าเบี้ยประกันตามกรมธรรม์ในแต่ละปี สมาชิกที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ในระหว่างปีจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันเต็มจำนวน
สมาชิกมีสิทธิทําประกันชีวิตเพิ่มเติม ได้อีก 1 โครงการ โดยการสมัครใจ และสมาชิกมีสิทธิทำประกันชีวิตเพิ่มให้กับ คู่สมรส และบุตร โดยการสมัครใจ บุตรต้องมีอายุตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป และสูงสุดอายุไม่เกิน 75 ปี
การเรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต สหกรณ์จะหักเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่ม โดยหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนของทุกปี ถ้าเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนไม่พอหัก จะเรียกเก็บจากเงินเดือนของสมาชิก
ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยของสมาชิก
สหกรณ์จัดทำประกันอัคคีภัยคุ้มครองบ้านที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิกสหกรณ์ ดังนี้
การคุ้มครองภัย จาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ภัยอันเนื่องจากน้ำ(ไม่รวมน้ำท่วม) ภัยอากาศยาน ภัยยานพาหนะ ฯลฯ คุ้มครองในวงเงินไม่เกิน (ตามประกาศ) ถ้าสมาชิกอยู่บ้านหลังเดียวกันทำประกัน 2 คน จะได้รับการคุ้มครองรวมกันวงเงิน 2 เท่า (ตามประกาศ) เป็นต้น ขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมภัยจาก น้ำท่วม ลมพายุ แผ่นดินไหว ในวงเงิน (ตามประกาศ)
เมื่อสมาชิกประสบภัย ให้แจ้งบริษัทประกันทันที สามารถติดตามข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้ที่เว็บไซต์สหกรณ์ www.molcoop.or.th หลักฐานประกอบ สำเนาทะเบียนบ้านที่ประสบภัยซึ่งสมาชิกมีชื่ออยู่ ภาพถ่ายบ้านที่ได้รับความเสียหาย หนังสือรับรองและประเมินมูลค่าความเสียหาย เป็นต้น หรือตามที่บริษัทประกันแจ้ง
ทุนการศึกษาบุตรสมาชิก
สหกรณ์ฯ จัดสรรทุนการศึกษาบุตรสมาชิกปีละ 1 ครั้ง จำนวน ทุน (ตามประกาศสหกรณ์) ทุนการศึกษาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทุนเรียนดี และทุนส่งเสริมการศึกษา บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี เรียนอยู่ในสถานศึกษาของทางราชการ หรือสถานศึกษาของเอกชนที่สอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึงปริญญาตรี สมาชิกคนหนึ่งมีสิทธิขอรับทุนบุตรได้เพียง 1 ทุน และบุตรคนหนึ่งมีสิทธิรับทุนได้เพียง 1 ทุน ไม่เป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาของสหกรณ์ติดต่อกันเกิน 2 ปี ยื่นคำขอรับทุนระหว่างเดือน พ.ค. – ส.ค. ของทุกปี (ตามประกาศสหกรณ์)
เอกสารประกอบ แบบฟอร์มขอรับทุน สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อบุตร ใบระเบียนการศึกษาหรือผลการเรียนเฉลี่ย ปีการศึกษาที่ผ่านมา(เฉพาะขอทุนเรียนดี) เป็นต้น หรือตามที่แจ้งในการประกาศสหกรณ์
ทุนสงเคราะห์การศพสมาชิก
1. กรณีที่สมาชิกไม่สามารถทำประกันชีวิตได้ หรือมีอายุ 70 ปีขึ้นไป(ไม่อยู่ในเงื่อนไขของบริษัทประกัน) จะได้รับเงินสงเคราะห์การศพจากสหกรณ์ คิดตามอายุการเป็นสมาชิกตามตารางด้านล่าง และได้ค่าจัดการศพอีก จำนวน 10,000 บาท ตารางการจ่ายเงินสงเคราะห์การศพ มีดังนี้
- เป็นสมาชิกมาแล้ว 6 เดือน ได้รับเงิน 2,000 บาท
- เป็นสมาชิกมาแล้ว 1 ปี ได้รับเงิน 4.000 บาท
- เป็นสมาชิกมาแล้ว 3 ปี ได้รับเงิน 8,000 บาท
- เป็นสมาชิกมาแล้ว 6 ปี ได้รับเงิน 12,000 บาท
- เป็นสมาชิกมาแล้ว 10 ปี ได้รับเงิน 16,000 บาท
- เป็นสมาชิกมาแล้ว 15 ปี ได้รับเงิน 20,000 บาท
ให้ทายาทยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมแนบเอกสารตามที่แจ้งในแบบฟอร์ม เช่น ใบมรณะบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือของรัฐ ภายใน 1 ปี นับจากวันเสียชีวิต และเงินทุนที่จะจ่ายสหกรณ์จะนำไปหักออกจากหนี้สินอื่นที่ค้างชำระก่อน(ถ้ามี)
2. กรณีการสงเคราะห์ศพ บิดา มารดา คู่สมรสและบุตรของสมาชิก ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ เป็นบิดา มารดา หรือบุตรบุญธรรม จะได้รับเงินสงเคราะห์จำนวน 1 ใน 4 ส่วนของเงินสงเคราะห์ตามตารางด้านบน เช่น เป็นสมาชิกมาแล้ว 6 เดือน ได้รับเงินสงเคราะห์ 500 บาท เป็นต้น ให้สมาชิกยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมแนบเอกสารตามที่แจ้งในแบบฟอร์ม เช่น ใบมรณะบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือของรัฐ เป็นต้น ส่งถึงสหกรณ์ ภายใน 1 ปีนับจากวันเสียชีวิต
บริการฝากเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร |
สมาชิกสามารถ โอนเงิน - ฝากเงิน เพื่อชําระหนี้สหกรณ์ ฝากเงิน หรือชำระเงินอื่นๆ โดยไม่ต้องไปที่สหกรณ์ โดยเขียนสลิปใบฝากเงินแบบไม่มีสมุดคู่ฝาก ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ทุกสาขา ในชื่อบัญชี “สหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงแรงงาน จำกัด” ตามรายชื่อธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ ดังนี้
ธ.กรุงไทย สาขากระทรวงแรงงาน เลขที่บัญชี 383-1-00001-8
ธ.ออมสิน สาขาดินแดง เลขที่บัญชี 0507-1-086506-9
ธ.ทหารไทย สาขาสนามเป้า เลขที่บัญชี 021-2-64796-0
ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาติวานนท์ เลขที่บัญชี 460-1-08164-2
เมื่อฝากเงินเข้าบัญชีธนาคารสหกรณ์แล้ว ให้ถ่ายสำเนาใบฝากและเขียนข้อความแจ้งความประสงค์การนำเงินเข้าบัญชีธนาคาร เลขทะเบียนสมาชิก ชื่อสมาชิก ส่งโทรสารถึงสหกรณ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2247-9810-2 ต่อ 801 เพื่อสหกรณ์จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาชิก
กรณีอยู่ส่วนภูมิภาค การส่งเงินเข้าบัญชีธนาคารต่างเขตจะมีค่าธรรมเนียมโอนเงิน แนะนำให้ใช้บริการธนาคารกรุงไทย และใช้แบบฟอร์ม “ใบแจ้งการชำระเงิน ผ่านธนาคารกรุงไทย Code 7066” (Download แบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์สหกรณ์) ฝากผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารจะเสียค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาทเท่านั้น ไม่จำกัดวงเงิน
สหกรณ์บริการข้อมูลข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ “www.molcoop.com” |
สมาชิกสามารถค้นคว้าข้อมูลข่าวสารได้ที่เว็บไซต์สหกรณ์ ดังนี้
1. หลักเกณฑ์เงินฝากออมทรัพย์ทุกประเภท
2. หลักเกณฑ์การให้เงินกู้ทุกประเภท
3. การคํานวณยอดกู้เงิน ผ่อนชําระหนี้ต่อเดือน
4. สวัสดิการของสมาชิกประเภทต่าง ๆ
5. การประกันชีวิตกลุ่ม ประกันต่างๆ
6. พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542
7. ข้อบังคับและระเบียบสหกรณ์
8. วารสารสหกรณ์รายเดือนและสามารถอ่านย้อนหลังเดือนต่างๆ
9. สามารถ Download แบบฟอร์มต่างๆ พิมพ์ใบเรียกเก็บประจําเดือน พิมพ์ใบเสร็จประจําเดือน ซึ่งการใช้บริการจะต้องสมัครสหกรณ์ออนไลน์ ตามขั้นตอนดังนี้
10. ลงทะเบียนสมาชิกใหม่ กรอกข้อมูล รหัสสมาชิก รหัสภาพ เลขบัตรประจําตัวประชาชน 13 หลัก วัน เดือน ปีเกิด อีเมล์(ถ้ามี) ไม่มีก็สมัครได้ เสร็จแล้วกดลงทะเบียนใช้งาน และรอให้สหกรณ์ฯ ตรวจสอบการสมัครเป็นสมาชิก เมื่อผ่านการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว สามารถเข้าใช้บริการต่างๆ ได้
การลาออกจากสมาชิกและรับเงินคืน |
เมื่อสมาชิกมีความประสงค์จะขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ ต้องไม่มีหนี้สินกับสหกรณ์ และไม่มีภาระค้ำประกันเงินกู้กับสหกรณ์ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกถึงสหกรณ์ ภายในวันสิ้นเดือน และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการฯ มีมติอนุมัติให้ลาออกได้ จะได้รับเงินคงเหลือที่มีอยู่กับสหกรณ์ภายในกลางเดือนถัดไป
กรณีมีหนี้สินกับสหกรณ์ฯ เมื่อหักกลบหนี้สินที่ค้างชําระกับเงินหุ้นแล้ว และมีเงินคงเหลือ สมาชิกจะไรับเงินค่าหุ้น เงินฝากและดอกเบี้ย หรือเงินอื่น ที่จะได้รับตามระเบียบสหกรณ์ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการฯ อนุมัติให้ลาออกแล้ว หมายเหตุ ถ้าสมาชิกรับคืนค่าหุ้นก่อนวันปิดบัญชี (30 กันยายน) จะไม่ได้รับเงินปันผลของปีที่ออกนั้น
สมาชิกที่เกษียณอายุราชการแล้ว ยังคงเป็นสมาชิกสหกรณ์ต่อไปได้ แต่เมื่อลาออกจากสหกรณ์แล้ว ไม่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ได้
1. หนังสือแสดงเจตนาระบุผู้รับผลประโยชน์ จากสหกรณ์ สมาชิกมีสิทธิตั้งบุคคลในครอบครัว ได้แก่ คู่สมรส บุตร บิดา มารดา หรือบุคคลอื่น เป็นผู้รับโอนประโยชน์ ตามแบบฟอร์มของสหกรณ์
2. ผู้รับโอนประโยชน์จะได้รับอะไรบ้าง ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับ ค่าหุ้น เงินฝากและดอกเบี้ย เงินปันผลและเฉลี่ยคืน เงินสวัสดิการที่จะได้รับตามระเบียบสหกรณ์ เงินสินไหมทดแทน หรือเงินอื่นๆ ที่สหกรณ์จ่ายให้กับสมาชิก เมื่อหักหนี้ที่สมาชิกผู้ถึงแก่กรรมค้างชําระต่อสหกรณ์แล้ว
3. การทำหนังสือแสดงเจตนาระบุผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกอาจตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนโดยอาจกําหนดสัดส่วนการรับประโยชน์ของแต่ละบุคคลได้ โดยทําเป็นหนังสือยื่นต่อสหกรณ์ตามแบบฟอร์มที่กําหนด
4. การเปลี่ยนแปลงผู้รับโอนประโยชน์ สมาชิกมีสิทธิเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงบุคคล หรือสัดส่วนการรับประโยชน์ของผู้รับโอนประโยชน์ โดยต้องทําเป็นหนังสือระบุผู้รับผลประโยชน์ฉบับใหม่แทนฉบับเดิมยื่นต่อสหกรณ์
5. เมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม กรณีมีหนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ ผู้รับโอนประโยชน์มีสิทธิขอรับเงินที่พึงได้ของสมาชิกที่ถึงแก่กรรมตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในหนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์
6. กรณีไม่มีหนังสือแสดงเจตนาระบบผู้รับผลประโยชน์ ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายได้แก่ คู่สมรส บุตรบิดา มารดา พี่ น้อง ฯลฯ สามารถขอรับเงินที่พึงได้ของสมาชิกที่ถึงแก่กรรม ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ตามกฎหมาย
รับบริการจากเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ทางโทรศัพท์อัตโนมัติ 0-2247-9810-2, 0-2247-1463-65 โทรสาร 0-2247-1464
ทางเว็บไซต์สหกรณ์ www.molcoop.com
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.
ฝากเงิน : 08.30 – 15.30 น.
ถอนเงิน : 09.30 – 15.30 น. |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น